การสร้างภาวะผู้นำในองค์กรแห่งการเรียนรู้

ที่มาและเหตุผล

ในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่หยุดนิ่งนี้, องค์กรต่างๆ ไม่สามารถพึ่งพาเพียงแผนกลยุทธ์หรือเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านั้นได้อีกต่อไป ความต้องการสำหรับผู้นำที่สามารถสร้างและรักษาวัฒนธรรมการเรียนรู้และนวัตกรรมภายในองค์กรจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นมากยิ่งขึ้น หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นดังกล่าว เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำที่สามารถนำองค์กรผ่านสภาวะที่ตึงเครียดและไม่แน่นอนไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนได้

ปัญหาหลักที่พบบ่อยในหลายองค์กรคือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง แม้การเปลี่ยนแปลงจะเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อความอยู่รอดและการเติบโตขององค์กร แต่บ่อยครั้งที่พนักงานและแม้กระทั่งผู้บริหารระดับสูงอาจมีความรู้สึกไม่สบายใจต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ สิ่งนี้สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและการปรับตัวขององค์กรต่อเทคโนโลยีและกระบวนทัศน์ใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการแข่งขันในตลาดสมัยใหม่ นอกจากนี้ ความท้าทายในการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกระดับขององค์กรสามารถสร้างอุปสรรคต่อการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการผลิต การเปลี่ยนจากกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมไปสู่การใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติอาจทำให้พนักงานระดับล่างรู้สึกว่าถูกทิ้งข้างหลังและไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้นำในการจัดการกับการต่อต้านเการเปลี่ยนแปลงของพนักงานและส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกส่วนขององค์กร ผ่านการเรียนรู้และปรับตัว

ดังนั้นหลักสูตรฝึกอบรมนี้นี้จะช่วยให้ผู้นำสามารถสร้างพื้นที่ของการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับสามารถเสนอแนวคิดใหม่ๆ และมีส่วนร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังรวมถึงการสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างโอกาสให้กับพนักงานเท่านั้น แต่ยังเป็นการเชิดชูศักยภาพของพวกเขาในการช่วยกำหนดทิศทางและอนาคตขององค์กร ซึ่งการพัฒนาภาวะผู้นำในแบบนี้จะต้องอาศัยทั้งความเข้าใจทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและการประยุกต์ใช้ปฏิบัติการที่เหมาะสม

หลักสูตรนี้จึงถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์เหล่านี้ผ่านการเรียนรู้แบบฝึกปฏิบัติจริง ช่วยให้ผู้นำมีความสามารถที่จำเป็นในการนำพาองค์กรของตนไปสู่ความสำเร็จในโลกที่เต็มไปด้วยความท้าทายที่ไม่มีวันสิ้นสุด.

วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม

  1. เพื่อพัฒนาความเข้าใจในทฤษฎีและกระบวนการของการเป็นผู้นำในองค์กรแห่งการเรียนรู้.
  2. เพื่อสร้างความสามารถในการริเริ่มและนำพาการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร.
  3. เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารและสร้างความไว้วางใจภายในทีม.
  4. เพื่อปลูกฝังความสามารถในการสร้างและรักษาวัฒนธรรมการเรียนรู้และนวัตกรรม.

ทฤษฎีและแนวคิดที่นำมาใช้ในการบรรยาย

  • ทฤษฎีองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Organizational Learning Theory)ของChris Argyris และ                       Donald Schön ช่วยให้องค์กรสามารถเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานผ่านกระบวนการที่มีส่วนร่วมในทุกระดับ.
  • ทฤษฎีการเป็นผู้นำเชิงรับฟัง (Authentic Leadership) เป็นผู้นำที่มีธรรมาภิบาล, ช่วยสร้างความไว้วางใจและการสื่อสารที่เปิดเผย.
  • ทฤษฎีการเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง(Transformational Leadership)   โดย Bernard M. Bass, เน้นการสร้างแรงบันดาลใจและการมีส่วนร่วมของพนักงานในการนำพาการเปลี่ยนแปลง.

หลักสูตรฝึกอบรมนี้แนะนำสำหรับใคร                                                                                          หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลในตำแหน่งหรือมีบทบาทดังต่อไปนี้ในองค์กร:

  1. ผู้บริหารระดับสูง (C-level Executives) บุคคลเหล่านี้รวมถึง CEO, CFO, COO และผู้บริหารระดับสูงอื่นๆ ที่ต้องการนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จผ่านการสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้และนวัตกรรม. 
  • ผู้จัดการและผู้นำทีมผู้ที่มีหน้าที่จัดการทีมหรือโครงการต่างๆ  ซึ่งต้องการพัฒนาความสามารถในการนำทีมของตนให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากสมาชิกทีม.  
  • ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Leaders) บุคคลที่รับหน้าที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ซึ่งต้องการเครื่องมือและทักษะในการจัดการความต้านทานและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน.  
  • ผู้พัฒนานโยบายและกลยุทธ์องค์กร  บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการดำเนินการกลยุทธ์ในองค์กร ซึ่งต้องการสร้างการเข้าใจที่ลึกซึ้งในการสร้างวัฒนธรรมที่สนับสนุนการเรียนรู้และนวัตกรรม.    
  • นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม ผู้เชี่ยวชาญที่ต้องการเสริมสร้างหรือออกแบบโปรแกรมการพัฒนาบุคลากรในองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการเติบโต.   
  • นักวิจัยและนักวิชาการด้านการจัดการ สำหรับผู้ที่ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการนำทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงและการเป็นผู้นำไปใช้ในบริบททางธุรกิจและการจัดการองค์กร.

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากหลักสูตรฝึกอบรมนี้

  1. เพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นำที่สามารถนำพาการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ                                                     ผู้เข้าร่วมจะได้รับการฝึกฝนให้เข้าใจและนำแนวทางทฤษฎีและปฏิบัติการไปใช้เพื่อนำการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาทักษะในการจัดการความขัดแย้ง, การตัดสินใจ, และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่รวดเร็วและไม่หยุดนิ่งได้.
  2. สร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมและความไว้วางใจภายในทีม                                                                                                              การฝึกอบรมจะช่วยเพิ่มความสามารถของผู้นำในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดเผยและให้ความรู้สึกมีส่วนร่วมให้กับสมาชิกทุกคน ทำให้สมาชิกในทีมรู้สึกได้รับการสนับสนุนและเชื่อมั่นในทิศทางและการตัดสินใจของผู้นำ ส่งผลให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและมีการสื่อสารที่โปร่งใส.
  3. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนวัตกรรม                                                                                                            ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติในการกระตุ้นและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ภายในทีม การฝึกนี้จะเน้นย้ำถึงการยอมรับและส่งเสริมการทดลองความคิดใหม่ๆ ซึ่งจะนำไปสู่นวัตกรรมและการปรับปรุงแนวทางการทำงานต่างๆ.
  4. ปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง                                                                                                                 หลักสูตรนี้สนับสนุนให้ผู้นำมีการพัฒนาตนเองและทีมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์, การประเมินผลที่ผ่านมา, และการตั้งคำถามเพื่อความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้น สร้างวัฒนธรรมที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงอยู่เสมอ.
  5. สนับสนุนการพัฒนาทักษะใหม่ๆ และการปรับตัวตามสถานการณ์ของตลาด                                                              หลักสูตรจะช่วยให้ผู้เข้าอบรมสามารถระบุและพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการนำพาองค์กรในตลาดที่มีการแข่งขันสูงและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและแนวโน้มใหม่ๆ ที่ปรากฏขึ้นอย่างไม่หยุดนิ่ง.

เนื้อหาที่นำมาใช้เพิ่มทักษะความรู้ในการบรรยาย

ช่วงที่ 1: สร้างทัศนคติความเป็นผู้นำยุคใหม่

  • ทำความเข้าใจภาวะผู้นำในองค์กรแห่งการเรียนรู้.
  • สร้างความเข้าใจในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง.
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง.(PDCA)
  • กระตุ้นนวัตกรรมและการเสนอแนวคิดใหม่ๆ.
  • การสื่อสารที่โปร่งใสและการสร้างความไว้วางใจ.

กิจกรรมที่ 1: การวิเคราะห์ตนเองในบมบาทและความคิดผู้นำแห่งยุค

วิธีการ: ผู้เข้าร่วมจะทำการทบทวนและวิเคราะห์ตนเองผ่านแบบสอบถามเพื่อระบุลักษณะนำที่พวกเขามีและต้องการพัฒนาโดยใช้ ทฤษฎี DISC

ผลลัพธ์: ผู้เข้าร่วมจะตระหนักถึงจุดแข็งและจุดอ่อนในภาวะผู้นำของตน, เป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป

กิจกรรมที่ 2 : เกมบทบาทสมมติ

วิธีการ: ผู้เข้าร่วมจะแบ่งกลุ่มและเล่นบทบาทสมมติที่มีเป้าหมายในการแก้ปัญหาภายในกลุ่ม

ผลลัพธ์: การเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

ช่วงที่ 2: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้

  • ลึกซึ้งถึงทฤษฎีการเรียนรู้ขององค์กร.
  • ทฤษฎีการเป็นผู้นำเชิงรับฟังและผลกระทบ.
  • ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงและการนำไปใช้.
  • การตั้งค่าพื้นฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลง.
  • การประเมินผลและการปรับปรุง.

ช่วงที่ 3: การสร้างความมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา

  • การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมและการตัดสินใจ.
  • การสร้างและรักษาความเป็นผู้นำ.
  • การสื่อสารและการสร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันช่วยเหลือ
  • การแก้ไขปัญหาตามระดับความยากและจัดระดับความสำคัญ
  • การติดตามและการประเมินผล.

กิจกรรม: การจำลองการประชุมเชิงกลยุทธ์

วิธีการ: ผู้เข้าร่วมจะมีส่วนร่วมในการจำลองการประชุมที่พวกเขาต้องนำเสนอและปกป้องไอเดียของตัวเอง

ผลลัพธ์: สร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมและช่วยให้ทุกคนมองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม

กิจกรรม: การสร้างสะพานกระดาษ

วิธีการ: การทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อสร้างสะพานจากกระดาษที่สามารถรับน้ำหนักได้สูงสุด

ผลลัพธ์: สร้างความร่วมมือและเสริมสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ภายในทีม

ช่วงที่ 4: การพัฒนาผู้นำที่รับฟังและส่งเสริมด้สนกี่ใช้ศาสตร์จิตวิทยาในการบริหารคน

  • ความสำคัญของความไว้วางใจและการสื่อสารที่เปิดเผยด้วยจิตวิทยา
  • การส่งเสริมการเรียนรู้จากความผิดพลาด.
  • จิตวิทยาการอ่านความรู้สึกจากพฤติกรรมการแสดงออก
  • การสร้างและการดูแลรักษาความสัมพันธ์ในทีมศาสตร์ NLP.
  • ศาสตร์การสื่อสาร สั่งการ วางงาน ชั้นสูง

กิจกรรม: การเล่าเรื่องเพื่อสร้างความไว้วางใจ

วิธีการ: การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และการฟังอย่างใส่ใจ ผลลัพธ์: เพิ่มความไว้วางใจและความเข้าใจภายในทีม

แชร์ :

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ครูโต๋ เสฏฐ์ธนา วิทยากร

วิทยากรและที่ปรึกษาภาครัฐและเอกชน

Facebook
LinkedIn